วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติบุคคลสำคัญ


สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์ดำ พระราชสมภพ เมื่อวันพฤหัสบดี ปีเถาะ พุทธศักราช ๒๐๙๘  ณ พระราชวังจันทร์ จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช และพระวิสุทธิกษัตริย์ ทรงมีพระพี่นาง พระนามว่าพระสุพรรณกัลยา หรือพระองค์ทอง และพระอนุชาทรงพระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ หรือพระองค์ขาว ขณะทรงพระเยาว์ สมเด็จพระชนกทรงพระยศเป็นเจ้าขัณฑสีมา ครองเมืองพิษณุโลกมีอำนาจบังคับหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. ๒๑๐๖ พระเจ้ากรุงหงสาวดีบุเรงนองยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ และทรงขอพระองค์ดำ ซึ่งมีพระชนมายุ ๙ ชันษา ไปเป็นองค์ประกัน ณ กรุงหงสาวดี และทรงการสงครามเป็นครั้งแรกในคราวสงครามช้างเผือก โดยพระเจ้าบุเรงนอง เริ่มโจมตี หัวเมืองเหนือลงมาก่อน ก่อนจะเลิกทัพกลับกรุงหงสาวดี พระเจ้าบุเรงนองไม่ไว้วางพระทัยพระมหาธรรมราชา ซึ่งครองเมืองพิษณุโลก จึงได้ขอพระนเรศวรไปอยู่ที่หงสาวดีเพื่อทรงเลี้ยงเป็นราชบุตรบุญธรรม จนเมื่อมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา พระมหาธรรมราชาซึ่งได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์ปกครองกรุงศรีอยุธยา ในฐานะเมืองประเทศราชได้ขอสมเด็จพระนเรศวรเพื่อมาช่วยราชการ พระเจ้าบุเรงนองยินยอมแต่ต้องแลกกับพระสุพรรณกัลยา โดยนำไปเป็นพระชายาและองค์ประกันแทน
พ.ศ. ๒๑๑๔       ได้รับสถาปนาให้ปกครองเมืองพิษณุโลก เมื่อพระชนมายุ ๑๖ พรรษา
พ.ศ.๒๑๑๗      พระชนมายุ ๑๙ พระเจ้าบุเรงนองได้เกณฑ์กองทัพไทยไปช่วยตีเมืองเวียงจันทร์ พระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับพระราชบิดา(พระมหาธรรมราชา) เพื่อไปสมทบกับทัพหลวงแห่งกรุงหงสาวดีที่เมืองเวียงจันทร์แต่พระองค์ทรงพระ ประชวรด้วยไข้ทรพิษจึงได้เสด็จกลับก่อน
พ.ศ.๒๑๒๑    พระชนมายุได้ ๒๓ พรรษา พระองค์ได้เสด็จมาเฝ้าพระราชบิดาที่กรุงศรีอยุธยา ประสบเหตุการณ์พระยาจีนจันตุ ขุนนางเขมรอาสาเข้ามาปล้นเมืองเพชรบุรีแต่ไม่สำเร็จ ยอมสวามิภักดิ์ไทย ครั้นสืบได้ความลับบางประการคิดหนีกลับลงเรือออกไปทะเล พระองค์ได้แสดงพระทัยกล้าหาญออกติดตามทันที
พ.ศ.๒๑๒๒       พระชนมายุได้ ๒๔ พรรษา พระองค์ทรงเป็นแม่ทัพโจมตีชนะพระทศราชา กษัตริย์เขมรที่ลอบยกกองทัพมาโจมตีทางภาคตะวันออก ได้รับชัยชนะทั้งๆที่กำลังพลน้อยกว่า
พ.ศ.๒๑๒๔      พระชนมายุได้ ๒๖ พรรษา เป็นช่วงที่พระเจ้าหงสาวดีสวรรคตได้เสด็จนำทัพไปร่วมในพิธีบรมราชาภิเษก กษัตริย์พระองค์ใหม่ คือ พระเจ้านันทบุเรง แทนพระราชบิดา ในคราวนั้นได้แสดงพระปรีชาสามารถนำทัพโจมตีเมืองคังได้สำเร็จ ซึ่งก่อนหน้านั้น พระมหาอุปราช และพระสังกะทัตราชบุตรพระเจ้าตองอูไม่สามารถเข้าตีได้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์สามารถชนะศึกในครั้งนี้
พ.ศ. ๒๑๒๖   พระชนมายุได้ ๒๘ พรรษา พระองค์ได้ทรงนำทัพไปช่วยหงสาวดีรบ  กับอังวะตามราชโองการของพระเจ้าหงสาวดีแต่พระองค์ทรงรู้เท่าทันกุศโลบาย จึงแสร้งเดินทัพช้านานเกือบสามเดือนจนถึงเมืองแครง
พ.ศ. ๒๑๒๗   พระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ทรงประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่ออำนาจการปกครองของพม่า เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ ที่เมืองแครง พระเจ้ากรุงหงสาวดีมีรับสั่งให้สุรกรรมา ยกทัพตามไล่จับพระองค์ แต่ในที่สุดพระองค์ทรงยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตงถูกสุรกรรมาแม่ทัพพม่าตาย และกวาดต้อนคนไทยกลับพระนคร
พ.ศ. ๒๑๒๘ – ๒๑๓๐ ทรงทำสงครามชนะกองทัพพม่าหลายครั้ง และกองทัพพม่าถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป ทำให้อาณาจักรไทยมั่งคงและปลอดภัยจากสงครามมากขึ้น
พ.ศ. ๒๑๓๓    ภายหลังจากที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต พระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชย์แทน ณ กรุงศรีอยุธยาเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
พ.ศ. ๒๑๓๕    พระชนมายุ ๓๗ พรรษา เมื่อวันจันทร์แรม๒ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง จุลศักราช๙๕๔ พระเจ้านันทบุเรงมีพระราชโองการให้พระมหาอุปราชายกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา อีก ในครั้งนี้ พระองค์ได้ทรงกระทำยุทธหัตถีประสบชัยชนะโดยได้จ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวตรง ไหล่ขวา พระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง
***และด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทรงรบและชนะศึกสงครามทุกครั้งกระทรวงกลาโหมได้ประกาศให้วันที่๒๕ มกราคม ของทุกปีเป็นวันกองทัพไทพ  แต่เมื่อนักวิชาการหลายท่านได้คำนวนออกมาใหม่ วันที่กระทำยุทธหัตถีเมื่อ๔๐๐กว่าปี จะตรงกับวันที่๑๘ มกราคม
พ.ศ. ๒๑๔๗   ทรงกรีฑาทัพไปตีอังวะ พร้อมด้วยพระอนุชา ครั้นเมื่อไปถึงเมืองหาง ทรงพระประชวร เป็นหัวระลอกขึ้นที่พระพักตร์และเป็นไข้ทรพิษ เสด็จสวรรคต ณ ทุ่งแก้ว เมืองหาง ตรงกับวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง พระชนมายุ ๕๐ พรรษา เสวยราชสมบัติได้ ๑๕ ปี

ตลอดระยะเวลาพระองค์ท่านทรงทำศึกอยู่ตลอดเวลา ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ทรงห่วงใยบ้านเมืองและชาวสยาม ทรงประกาศอิสระภาพไม่เป็นเมืองขึ้นแก่พม่า พระองค์ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์ ทรงต่อสู้เพื่อให้ได้เอกราช ให้ชาวไทยได้มีผืนแผ่นเดินอาศัยจนถึงทุกวันนี้


              

คนขี้เหนียวกับทองคำ 

ชายคนหนึ่งเป็นคนขี้เหนียว เขามักจะเอาสมบัติฝังดิน ไว้รอบๆ บ้านไม่ยอมนำมาใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์

ต่อมาเขากลัวว่าจะไม่ปลอดภัยถ้าฝังเงินทอง ไว้หลาย เเห่ง เขาจึงขายสมบัติทั้งหมดเเล้วซื้อทองคำเเท่งหนึ่ง มาฝังไว้ที่หลังบ้าน เเล้วหมั่นไปดูทุกวัน

คนใช้ผู้หนึ่งสงสัยจึงเเอบตามไปดูที่หลังบ้าน เเล้วก็ขุด เอาทองเเท่งไปเสีย

ชายขี้เหนียวมาพบหลุมที่ว่างเปล่าในวันต่อมาก็เสียใจ ร้องห่มร้องไห้ไปบอกเพื่อนบ้านคนหนึ่ง

เพื่อนบ้านจึงเเนะนำประชดประชันว่า

"ท่านก็เอาก้อนอิฐใส่ในหลุมเเล้วคิดว่าเป็นทองคำสิ เพราะถึงอย่างไรท่านก็ไม่เอาเอามาใช้อยู่เเล้ว" 

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า "ของมีค่า ถ้าไม่นำมาทำให้เกิดประโยชน์ก็ย่อมเป็นของไร้ค่า